Warning: sprintf(): Too few arguments in /www/wwwroot/newsdemomb101.com/wp-content/themes/mahalo/assets/lib/breadcrumbs/breadcrumbs.php on line 252

"บางกอกไพรด์ 2023" ชวนชมขบวนแห่สีรุ้ง ถ่ายรูปกับ "6 ทูตนฤมิต"

เดือนมิถุนายน เดือนแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความภาคภูมิใจของเหล่า "LGBTQIAN+" มาถึงแล้ว

หลายคนคงได้เห็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ทางตัวตน ที่ถึงแม้พวกเขาจะแตกต่าง แต่พวกเขาก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่ควรได้รับสิทธิเสรีภาพ เหมือนคนทั่วไปอย่างไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติ

แต่มีกิจกรรมหนึ่ง เมื่อพูดถึงสัญลักษณ์หัวใจสีรุ้ง คงหนีไม่พ้นเจ้าภาพการจัดงานอย่าง บริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด ที่ขับเคลื่อนและสร้างปรากฎการณ์ถนนสีรุ้งเมื่อปีที่ผ่านมา

และหากใครติตามข่าวสารของชาวสีรุ้งด้วยแล้ว คงจะเคยเห็นภาพกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่สวมใส่เสื้อผ้าสีสันสดใด พวกเขาถูกเรียกว่า "6 ทูตนฤมิตบางกอกไพรด์"

สำหรับ "6 ทูตนฤมิตบางกอกไพรด์" เป็นตัวแทนของกลุ่ม "LGBTQIAN+" ที่จะมาสวมใส่ชุดของสไตล์ลิสต์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดความเป็นตัวตนของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศออกมาในแต่ละปี จำนวน 6 คน

ในปีนี้ความอลังการของชุดจะสวยงามขนาดไหน และจะสะท้อนเรื่องราวของกลุ่ม "LGBTQIAN+" อย่างไร วันนี้เราจะพามาเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังชุดอันโดดเด่น และ "6 ทูตนฤมิตบางกอกไพรด์ 2023" กันต่อ

1.) มีมี่ (Memee)

ทูตนฤมิตที่โดดเด่นในชุดสีแดงชมพู ที่ชื่อเรียกว่า "Valor" ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากความหมายของ "ดอกไอริส" และ "เทพีไอริส" ดีไซน์ของชุดจึงใช้โครงชุดนักรบเพื่อแสดงออกถึงความกล้าหาญแต่เพิ่มความสดใสตามคาแรคเตอร์คนใส่เพื่อนำเสนอว่ารูปลักษณ์หรือวิธีการแสดงออกถึง "ความกล้าหาญ" ไม่ได้มีลักษณะหรือรูปแบบเดียว

ชุดที่สวมใส่สามารถสะท้อนตัวตนของ มีมี่ ได้เป็นอย่างดี มีมี่จึงเป็นได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทูตนฤมิตในชุดนี้ เพราะ มีมี่ เคยผ่านเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ และเป็นนักกิจกรรมเยาวชนที่มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคม มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ขณะที่ ในปีนี้ได้เป็นตัวแทน Thailand Youth Delegate ในการประชุม Amnesty International ประจำปี 2023 และได้รับคัดเลือกเป็น Tomorrow's leaders โดย UNDP ด้วย

"Pride Month" คืออะไร ทำไมตรงกับเดือนมิถุนายนและสำคัญกับ "LGBTQIAN+"

ทำความรู้จักความหมาย "LGBTQIAN+" ต้อนรับ Pride Month

2.) ต้น (Ton)

คนที่ใครๆ ก็รู้จักในฐานะผู้นำจัดงานเชียงใหม่ไพรด์ ผู้ผ่านเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศต้นเป็นนักปกป้องสิทธิความหลากหลายทางเพศและสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคเอเชียและนานาชาติ ที่มีผลงานการรณรงค์ประเด็นทางสังคมอย่างโดดเด่น และปัจจุบันขยายพื้นที่รณรงค์ไปสู่ Tiktoker ที่นำเสนอปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขได้อย่างถึงใจ

ต้นจึงได้สวมใส่ชุดแห่งปัญญา ที่มีชื่อเรียกว่า "Wise" หนึ่งในความหมายของ "ดอกไอริส" ที่มีดีไซน์ในส่วนของโครงเส้นชุดให้ดูเหมือนมีรัศมีของปัญญาเปล่งออกมาจากศีรษะ

สะท้อนให้เห็นว่า การมองเห็นคุณค่าของปัญญาจากชุดประสบการณ์ชีวิตที่มีต้นทุนแตกต่างกัน คือสิ่งที่จะทำให้เราหันมามองเห็นคุณค่าของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม

ประกอบกับการปรากฏตัวทุกครั้งของต้นคือการบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิความหลากหลายทางเพศ เป็นที่มาให้ต้นได้สวมใส่ชุดนี้นั่นเอง

3.) มุ้ย (Muii)

ทูตนฤมิตที่ได้สวมใส่ชุด ที่มีชื่่อเรียกว่า "แพนนี่" (Panny) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากดอกไอริสและสีธงของรสนิยมทางเพศแบบ pansexual และ panromantic

เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเมตตา และการเปิดใจ เป็นคาแรกเตอร์ที่อ่อนนุ่มแต่รัศมีแผ่ขยาย เพื่อสื่อสารความรักและรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย

สำหรับ มุ้ย เป็นผู้นำและเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศทั้งในบ้าน ที่ทำงาน และสังคม อีกทั้งยังเคยเป็นผู้นำหลักในการดำเนินนโยบายยุติรุนแรงทางเพศในสภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ

และปัจจุบันมุ้ยยังมุ่งมั่นในการทำงานสิทธิด้านการมีสุขภาวะที่ดี (well-being) ของนักกิจกรรมต่อ รวมถึงยังเป็นผู้เย็บธงรุ้งแห่งความภาคภูมิใจผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จะนำมาร่วมขบวนในงานบางกอกไพรด์ ด้วยเหตุนี้ชุดแพนนี่จึงเหมาะสมสำหรับมุ้ยมากที่สุด

4.) ยัด (Yahya)

ทูตนฤมิตในชุด "ดอกไอริส" สีเขียวที่มีความสุขุม เทห์ แต่มาพร้อมกับ ความหวัง (Hope) เพราะตามธรรมชาติดอกไอริสสีเขียวหายากมาก ดังนั้น ยัด จึงเป็นตัวแทนที่เปรียบเสมือนความหวังที่พบเจอยากแต่สำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวทางสังคม และยัด ผ่านเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ กับการเป็นเยาวชนข้ามเพศมาแล้ว

ยัด เป็นนักกิจกรรมรณรงค์สิทธิของเยาวชนข้ามเพศในชุมชนคนไทยเชื้อสายอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อรณรงค์ประเด็นพื้นที่ปลอดภัยของเยาวชนความหลากหลายทางเพศในพื้นที่ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน

การปรากฏตัวของ ยัด ในบทบาททูตบางกอกไพรด์ประจำปีนี้ จึงเป็นการเปิดพื้นที่ต้อนรับเยาวชนที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนและหลากหลายให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนความหลากหลาย เพื่อถ่ายทอดความหวังในการยืนยันอัตลักษณ์คือความหวังที่ทรงพลังที่สุด

5.) ชาร์ล็อต (charlotte)

ชุดสีม่วงในชื่อ "โนบี้" (Nobie) ที่เข้ากับผู้ผ่านเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศอย่าง "ชาร์ล็อต" เพราะชาร์ล็อตเป็นทั้งนักกิจกรรมเยาวชนนอนไบนารี่ (Nonbinary) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศภายใต้ชื่อลุ่ม Feminist ณ ภาคใต้ และยังมีความสนใจในประเด็นสุขภาวะ (Well-being) และการพัฒนาศักยภาพด้านจิตวิญญาณ

ชุดโนบี้ที่สวมใส่จึงได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงดอกไอริสและสีธงนอนไบรี่ สื่อถึงความเป็นกลาง (Neutrality) ความความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง ดีไซน์ชุดจึงตั้งใจสร้างสรรค์ออกมาให้ดูสนุก ลื่นไหล ยืนหยุ่น ทรงชุดจึงดูเหมือนสมมาตรแต่ก็ไม่สมมาตรและไม่คงรูปชัดเจน

6.) ทาทา (Tata)

ผู้ผ่านเส้นทางการต่อสู้ เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ จากการเป็นนักรณรงค์สิทธิ และสวัสดิการเพื่อคนไร้บ้าน และนักรณรงค์สิทธิของผู้ขายบริการทางเพศ (sex worker) มากกว่านั้นยังรวมถึงสิทธิความหลากหลายในอีกหลายประเด็น

"ทาทา" จึงได้สวมใส่ชุดทีโฟ (T-fo) สีฟ้าทรงดอกไอริสที่เบ่งบานอย่างเต็มที่ เป็นชุดที่สะท้อนถึงแนวคิดการ “ยืนยันตัวตนของคนข้ามเพศ” ที่บ่งบอกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกการเปลี่ยนจะทำให้เรามองเห็นตัวตนชัดขึ้น ละวางจากสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเองเพื่อพบกับตัวตนที่แท้จริงและพลังภายใน นั่นคือความเบ่งบานสวยงามคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยพวกเขาจะเดินเฉิดฉาย เจิดจรัส อยู่ในสตรีท ในวันที่ 4 มิถุนายนนี้ ตั้งแต่เวลา 14:00-20.00 น. ทุกคนสามารถแวะเข้าไปถ่ายรูปได้ ตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 ฝั่งสยามพิวรรธน์ จนถึงแยกราชประสงค์ บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมด้วยธงสีรุ้งยาวที่สุดในประเทศไทย ที่จะโบกสะบัดเพื่อประกาศชัดถึงความเท่าเทียมกันของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

Previous post Everygame Poker offering Father’s Day spin special via popular Betsoft online slot games
Next post “นุ๊ก สุทธิดา” สุดสตรอง! เผยสิ่งที่ต้องเผชิญโรคมะเร็งไทรอยด์และซึมเศร้า ลูก-สามีคือก…