“ร้านอาหารมิชลินไกด์” ความหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องของอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ มีชาวต่างชาติจำนวนมากที่ชื่นชมอาหารของไทย และตามล่าหาร้านเด็ดในบ้านเมืองของเรา
นอกจากนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวไม่น้อย ที่ตามหาของอร่อยตามรอย “คู่มือมิชลิน ไกด์” ซึ่งคัดสรรและรวบรวมร้านอาหารที่ควรค่าแก่การเดินทางไปเยือนและลิ้มชิมรส ให้ในแง่ของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจแล้ว ร้านอาหารที่ได้รับการรับรองจากมิชลินถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว
“มิชลินไกด์ประเทศไทย 2567” มาแล้ว! เปิดรายชื่อร้านอาหารคว้าดาวมิชลิน
196 ร้านอาหาร คว้า ‘บิบ กูร์มองด์’ ใน ‘มิชลิน ไกด์’ ประเทศไทยปี 2567 คำพูดจาก สล็อตวอเลท
มิชลิน คีย์ สัญลักษณ์ใหม่ของมิชลิน ไกด์ ให้โรงแรมที่พักทั่วโลก
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า มิชลินไกด์ไทยแลนด์จริง ๆ แล้วดำเนินงานมาเป็นระยะที่ 2 แล้ว โดยระยะแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 ส่วนระยะที่สองคือปี พ.ศ. 2565-2569
“คราวนี้ในเรื่องมิชลินไกด์เองมีคนพูดถึงเยอะมาก ๆ ดังนั้น เพื่อที่จะดูว่า แล้วมันมีผลต่อเชิงเศรษฐศาสตร์และทัศนคติต่อผู้ได้รับรางวัล หรือคนไทยและชาวต่างชาติยังไงบ้าง เราก็ได้ทำการสำรวจเปรียบเทียบ” นางสาวฐาปนีย์กล่าว
โดยผลการสำรวจออกมาว่า ตอนนี้ ทัศนคตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจาก 23 ประเทศที่สำรวจ พบว่า ภาพลักษณ์ของประเทศไทยด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารดีขึ้นมาก จาก 38% เป็น 44% สูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น
“ทีนี้ในส่วนของทัศนคติของคนไทยเองก็ถือว่า เวลานี้พอเรามีมิชลิน ความพึงพอใจของการได้รับประทานอาหารมิชลินหรือการทำให้ประเทศไทยมีการยกระดับด้านอาหารก็มีความภาคภูมิใจมากขึ้น จากปี 2565 มาปี 2566 เพิ่มจาก 97% มาเป็น 99% สูงมาก ๆ” ผู้ว่าฯ ททท. บอก
ในส่วนทัศนคติของผู้ได้รับรางวัล ก็พบว่า หลายร้านมียอดขายอาหารหลังได้รับมิชลิน รายได้เพิ่มมากขึ้น 30-40% ซึ่งพอไปดูในเรื่องของความพึงพอใจก็สูงถึง 97%
นางสาวฐาปนีย์บอกว่า “แง่ของรายได้ ในปี พ.ศ. 2565 เราก็ดูว่า ในส่วนของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเพื่อทานอาหารมิชลินอยู่ที่เท่าไหร่ เวลาที่เราลงทุนกับการจ่ายเงินลิขสิทธิ์มิชลินอยู่ที่ประมาณ 28 ล้านบาทต่อปี ตอนนี้รายได้ที่กลับเข้ามา ปี พ.ศ. 2565 ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อยู่ที่ประมาณ 7 เท่า ส่วนปี 2566 สูงขึ้นไปอีก อยู่ที่ 9-10 เท่า”
ผู้ว่าฯ ททท. เสริมว่า “ทำไมถึงสูงขึ้น ก็เพราะว่า เรามีคนไทยไปกินร้านอาหารมิชลินประมาณ 6-7 แสนคน แต่ปี 66 กระโดดขึ้นไปถึง 1.3 ล้านคน ซึ่งถือว่าเยอะมาก และมีแนวโน้มที่จะเยอะมากขึ้นอีก เนื่องจากว่าในปีนี้เอง มีการสำรวจพื้นที่เป้าหมายในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวด้วย ก็คือ จ.สุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย”
นอกจากนี้ ทาง ททท. ยังมีแผนที่จะทำงานร่วมกับมิลชิน เพื่อขยายขอบเขตการสำรวจร้านอร่อยไปยัง “เมืองรอง” มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้วย
“เราได้คุยกับทางมิชลินว่า ตอนนี้เองนโยบายของรัฐบาลต้องการที่จะโปรโมตเมืองรองให้มีศักยภาพในการที่จะเป็นเมืองหลัก สิ่งหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นก็คือในเรื่องของอาหาร วัฒนธรรมอาหารการกิน เพราะแน่นอนว่าเป้นองค์ประกอบหลักสำหรับการเดินทาง ดังนั้นในปีหน้า เราอาจจะได้เห็นมิชลินที่ลงไปที่เมืองรอง ไม่ว่าจะในเรื่องของการให้ดาวหรือบิบกูมองด์” นางสาวฐาปนีย์กล่าว
ผู้ว่าฯ ททท. บอกว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในครัวโลก ตอนนี้ภาพลักษณ์ประเทศไทยในการเป็นเมืองแห่งอาหาร (City of Gastronomy) ถือว่าดีมาก ๆ จึงอยากเชิญชวนให้ชาวต่างประเทศทั่วโลกมาลิ้มรสรับประทานอาหาร และเติมเต็มสิ่งที่เรียกว่าเป็น Meaningful Travel Experience (ประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมาย) ผ่านอาหารในประเทศไทย
ด้าน เกว็นดัล ปูลเล็นเนค ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ทั่วโลก เปิดเผยว่า รายชื่อร้านอาหารของคู่มือมิชลิน ไกด์ ฉบับประเทศไทยปี 2567 มีสีสันน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จากบรรยากาศภาคธุรกิจอาหารที่มีชีวิตชีวาและหลากหลายของเกาะสมุยและสุราษฎร์ธานี ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางทัศนียภาพที่สวยงามฝั่งอ่าวไทย มีผลิตผลท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ได้คุณภาพและสดใหม่ ผสานหลากวัฒนธรรมที่รุ่มรวย
“ผู้ตรวจสอบของมิชลิน ไกด์ ได้สัมผัสความหลากหลายในแวดวงร้านอาหารของไทย ทั้งร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นที่พยายามก้าวข้ามขอบเขตและขีดจำกัดเดิม ๆ ไปจนถึงแผงขายอาหารริมทางที่พบได้ทั่วไป ความหลากหลายที่โดดเด่นเช่นนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทย คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2567 ไม่เพียงสะท้อนถึงประสบการณ์สุดพิเศษดังกล่าวที่ผู้ตรวจสอบของเราได้สัมผัส แต่ยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและทิศทางล่าสุดในแวดวงอาหารของประเทศไทยด้วย” ปูลเล็นเนคกล่าวเสริม
สำหรับแนวโน้มและทิศทางวงการอาหารของไทยนั้น ผู้ตรวจสอบของมิชลิน ไกด์ ซึ่งเดินทางสำรวจและคัดสรรร้านอาหารทั่วประเทศไทย พบว่า มีร้านอาหารไทยสไตล์โมเดิร์นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ร้านเหล่านี้ดำเนินการโดยเชฟรุ่นใหม่อายุน้อยที่ทุ่มเทพลังสร้างสรรค์เพื่อก้าวข้ามขอบเขตและขีดจำกัดของการประกอบอาหารแบบเดิมสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "อาหารไทยสไตล์โมเดิร์น”
นอกจากนี้ จำนวนร้านอาหารอีกประเภทที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้านอาหารประเภทที่ต้องจองล่วงหน้าเท่านั้น (Reservation Only) และร้านที่จัดที่นั่งหันหน้าเข้าครัวเพื่อให้นักชิมได้เพลิดเพลินกับการชมทุกขั้นตอนการเตรียมอาหารของเชฟอย่างใกล้ชิด (Counter Dining) ซึ่งนำเสนออาหารเชิงนวัตกรรมและอาหารสไตล์โมเดิร์นเป็นคอร์สประเภท “เมนูชวนลิ้มลอง” หรือ Tasting Menu
ขณะเดียวกัน กระแสความนิยมอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารมังสวิรัติยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในไทย โดยความต้องการที่มีต่ออาหารออร์แกนิก (Organic) และอาหารจากพืช (Plant-Based) เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคใส่ใจในพฤติกรรมการทานอาหารมากขึ้น
กระแสรักสุขภาพเช่นนี้ส่งผลให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและอาหารออร์แกนิกสูงขึ้น ร้านอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะร้านอาหารระดับหรู จึงเลือกใช้วัตถุดิบที่ปลูกเองหรือปลูกในท้องถิ่นและให้ความสำคัญกับการผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น
นั่นทำให้นอกจากประเทศไทยจะเป็นดินแดนแห่งของอร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยของอร่อยที่ดีต่อทั้งสุขภาพและต่อโลกด้วย
OR เตรียมผุด 'พีทีที สเตชั่น' แบบไม่ขายน้ำมัน คาดเสร็จปลายปี 2567
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
ฝุ่น PM 2.5 ลดลง! สมุทรสาครยังสีแดง เกินค่ามาตรฐานอีกกว่า 25 จังหวัด